พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
ชินราชใบเสมา พิ...
ชินราชใบเสมา พิมพ์กลาง กรุวัดพระศรีมหาธาตุ (ติดรางวัลประกวดพระเครื่อง 4 ใบ)
พระพุทธชินราช ใบเสมา และ พระชินสีห์ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก แตกกรุประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐ พระพุทธชินราช ใบเสมา มี ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และยังแบ่งเป็นฐานเตี้ยและฐานสูงในแต่ละพิมพ์ และที่พบอีกคือพระพุทธชินสีห์ หรือ พระชินสีห์ พระชินสีห์ มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เกศตรง พิมพ์เกศแฉก

พระชินสีห์ กรุวัดใหญ่ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก)

เมืองพิษณุโลก เป็นเมืองพระที่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่เมืองหนึ่งในสมัยกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนา เมืองนี้มีวัดมากมาย รวมทั้งพระพุทธรูปสำคัญๆ ที่มีความงดงามหลายองค์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วเมืองไทย ก็คือ พระพุทธชินราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดใหญ่ เลื่องลือกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์งดงามที่สุดในเมืองไทย และเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล ที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก จนเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของประชาชนโดยทั่วไป

นอกจากนี้ เมืองพิษณุโลก ยังมีพระกรุพระเก่า ที่ขุดพบจากกรุต่างๆ หลายแห่งกรุที่สำคัญสุด คือ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช อันงดงามดังกล่าว

พระกรุนี้มีหลายพิมพ์ ที่ล้วนเช่าหากันในราคาแพงเป็นหลักแสนขึ้นไปทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระพุทธชินราช ใบเสมา เนื้อชินเงิน ที่ได้รับเกียรติบรรจุไว้ใน ชุดเบญจภาคีพระเนื้อชินยอดนิยม อันประกอบด้วย พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี พระหูยาน จ.ลพบุรี พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี และ พระพุทธชินราช ใบเสมา จ.พิษณุโลก

พระพุทธชินสีห์ หรือ พระชินสีห์

พระพุทธชินราช ใบเสมา เป็นพระเนื้อชินเงิน ศิลปะแบบอู่ทองยุคต้น ขุดพบจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เนื่องจากมีพุทธลักษณะเหมือนกับ พระพุทธชินราช องค์ใหญ่ ที่เป็นพระประธาน ชาวบ้านจึงนำพระนามของท่านมาตั้งเป็นชื่อของพระเครื่องที่ขุดค้นพบจากวัดนี้ด้วย และเนื่องจากองค์พระมีสัณฐานเหมือนกับ ใบเสมา ที่ปรากฏตามรอบโบสถ์วัดทั่วไป พระเครื่องพิมพ์นี้ จึงมีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า พระพุทธชินราช ใบเสมา เท่าที่พบเห็นมี ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และ พิมพ์เล็ก (แต่ละพิมพ์จะมีพิมพ์ที่มีเนื้อส่วนเกินตรงใต้ฐาน เรียกว่า ฐานสูง)

นอกจากนี้ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก ยังมีการขุดพบพระอีกพิมพ์หนึ่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับ พระพุทธชินราช ใบเสมา คือ พระพุทธชินสีห์ หรือ พระชินสีห์ เป็นพระเนื้อชินเงิน เช่นกัน

พระชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปที่งดงามอีกองค์หนึ่งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก สร้างในยุคเดียวกัน ด้วยฝีมือช่างชุดเดียวกัน ต่อมาได้อัญเชิญลงมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. จนถึงทุกวันนี้

สำหรับ พระชินสีห์ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ที่เป็นพระเครื่องนั้น พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่งอยู่บนบัว ๒ ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้วเหมือนกับ พระพุทธชินราช ใบเสมา ผิดกันที่ซุ้มเรือนแก้วของพระชินสีห์ จะมีลวดลายของซุ้มที่แคบกว่า และที่ปลายพระเกศมีเปลวที่สูงกว่า

พระพุทธชินราช ใบเสมา มีเม็ดไข่ปลาคั่นเ

ที่แตกต่างกันอีกจุดหนึ่ง คือ ฐานบัว ๒ ชั้นของ พระพุทธชินราชใบเสมา มีเม็ดไข่ปลาคั่นเป็นแถว ระหว่างบัวบนกับบัวล่าง ส่วนฐานบัว ๒ ชั้นของ พระชินสีห์ ไม่มีเม็ดไข่ปลาคั่น

พระชินราชใบเสมา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก และ พระชินสีห์ แตกกรุออกมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีชาวบ้านนำพระ ๒ พิมพ์นี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งล้นเกล้าฯ ได้พระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และพสกนิกรที่ตามเสด็จอย่างทั่วหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ พระกรุนี้นับได้ว่ามีการขุดพบมานานกว่า ๑๑๒ ปี

พระพุทธชินราช ใบเสมา

พระชินสีห์ เป็นพระตระกูลเดียวกับ พระพุทธชินราช ใบเสมา เพราะว่าผู้สร้างเป็นคนเดียวกัน คือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท แต่...พระชินสีห์หาได้ยากกว่า พระพุทธชินราชใบเสมา เป็นอันมาก อาจจะเป็นเพราะสร้างจำนวนน้อยกว่าก็ได้ พระชินสีห์ มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เกศตรง ขนาดองค์ กว้างประมาณ ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๓.๕ ซม. และ พิมพ์เกศแฉก ซึ่งเป็นพระคนละพิมพ์ ต่างกันตรงที่ยอดพระเกศ มีลักษณะเป็นสองแฉก และขนาดองค์พระจะสูงกว่ากันเล็กน้อย คือ สูงประมาณ ๓.๗๕ ส่วนความกว้างประมาณ ๒.๕ ซม. เท่าที่พบเห็น มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อชินเงิน และ เนื้อสัมฤทธิ์

พระชินสีห์ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เป็นพระที่หาได้ยากยิ่ง ในวงการพระแทบจะนับองค์ได้ ฉะนั้น สนนราคาเช่าหาจึงสูงกว่า พระพุทธชินราช ใบเสมา แม้ว่าโดยศักดิ์ศรี พระชินสีห์ จะไม่ได้รับการบรรจุอยู่ในทำเนียบชุดเบญจภาคีพระเนื้อชินก็ตาม แต่อายุการสร้างก็เท่าๆ กัน คือหลายร้อยปีมาแล้ว

ในด้านพุทธคุณ เป็นเลื่องลือกันกันว่า ล้ำเลิศทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปลอดภัย และมหาอำนาจ มหาบารมี เรียกได้ว่าครอบจักรวาล ครบถ้วนทุกด้าน จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับชนชั้นสูง ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้นำเหล่าทัพ นายทหารนายตำรวจใหญ่ และเจ้าขุนมูลนายทั่วไป พระพุทธชินราชใบเสมาเนื้อตะกั่ว ปี15

ถ้าชาวบ้านธรรมดาๆ มีโอกาสได้ครอบครองเป็นเจ้าของ ก็ต้องถือว่า เป็นบุญวาสนาอย่างสูงยิ่ง

"ชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ"
ที่มา...http://www.komchadluek.net/






ผู้เข้าชม
25312 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
บี บุรีรัมย์โกหมูdigitalplusaofkolokchaokohเปียโน
เทพจิระtermboonnatthanetโจ้ ลำนารายณ์BAINGERNNongBoss
เจริญสุขps.aektumlawyerภูมิ IRด้วง เกิดผลนะโม พระเครื่อง
ช้างพระเครื่องTotoTatoKanamuletเนินพระ99vanglannavayu
น้ำตาลแดงเก่ง บุรีรัมย์tongleehaeธัชกรponsrithong2ponsrithong

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1315 คน

เพิ่มข้อมูล

ชินราชใบเสมา พิมพ์กลาง กรุวัดพระศรีมหาธาตุ (ติดรางวัลประกวดพระเครื่อง 4 ใบ)




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
ชินราชใบเสมา พิมพ์กลาง กรุวัดพระศรีมหาธาตุ (ติดรางวัลประกวดพระเครื่อง 4 ใบ)
รายละเอียด
พระพุทธชินราช ใบเสมา และ พระชินสีห์ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก แตกกรุประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐ พระพุทธชินราช ใบเสมา มี ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และยังแบ่งเป็นฐานเตี้ยและฐานสูงในแต่ละพิมพ์ และที่พบอีกคือพระพุทธชินสีห์ หรือ พระชินสีห์ พระชินสีห์ มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เกศตรง พิมพ์เกศแฉก

พระชินสีห์ กรุวัดใหญ่ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก)

เมืองพิษณุโลก เป็นเมืองพระที่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่เมืองหนึ่งในสมัยกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนา เมืองนี้มีวัดมากมาย รวมทั้งพระพุทธรูปสำคัญๆ ที่มีความงดงามหลายองค์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วเมืองไทย ก็คือ พระพุทธชินราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดใหญ่ เลื่องลือกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์งดงามที่สุดในเมืองไทย และเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล ที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก จนเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของประชาชนโดยทั่วไป

นอกจากนี้ เมืองพิษณุโลก ยังมีพระกรุพระเก่า ที่ขุดพบจากกรุต่างๆ หลายแห่งกรุที่สำคัญสุด คือ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช อันงดงามดังกล่าว

พระกรุนี้มีหลายพิมพ์ ที่ล้วนเช่าหากันในราคาแพงเป็นหลักแสนขึ้นไปทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระพุทธชินราช ใบเสมา เนื้อชินเงิน ที่ได้รับเกียรติบรรจุไว้ใน ชุดเบญจภาคีพระเนื้อชินยอดนิยม อันประกอบด้วย พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี พระหูยาน จ.ลพบุรี พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี และ พระพุทธชินราช ใบเสมา จ.พิษณุโลก

พระพุทธชินสีห์ หรือ พระชินสีห์

พระพุทธชินราช ใบเสมา เป็นพระเนื้อชินเงิน ศิลปะแบบอู่ทองยุคต้น ขุดพบจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เนื่องจากมีพุทธลักษณะเหมือนกับ พระพุทธชินราช องค์ใหญ่ ที่เป็นพระประธาน ชาวบ้านจึงนำพระนามของท่านมาตั้งเป็นชื่อของพระเครื่องที่ขุดค้นพบจากวัดนี้ด้วย และเนื่องจากองค์พระมีสัณฐานเหมือนกับ ใบเสมา ที่ปรากฏตามรอบโบสถ์วัดทั่วไป พระเครื่องพิมพ์นี้ จึงมีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า พระพุทธชินราช ใบเสมา เท่าที่พบเห็นมี ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และ พิมพ์เล็ก (แต่ละพิมพ์จะมีพิมพ์ที่มีเนื้อส่วนเกินตรงใต้ฐาน เรียกว่า ฐานสูง)

นอกจากนี้ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก ยังมีการขุดพบพระอีกพิมพ์หนึ่งที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับ พระพุทธชินราช ใบเสมา คือ พระพุทธชินสีห์ หรือ พระชินสีห์ เป็นพระเนื้อชินเงิน เช่นกัน

พระชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปที่งดงามอีกองค์หนึ่งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก สร้างในยุคเดียวกัน ด้วยฝีมือช่างชุดเดียวกัน ต่อมาได้อัญเชิญลงมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. จนถึงทุกวันนี้

สำหรับ พระชินสีห์ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ที่เป็นพระเครื่องนั้น พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่งอยู่บนบัว ๒ ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้วเหมือนกับ พระพุทธชินราช ใบเสมา ผิดกันที่ซุ้มเรือนแก้วของพระชินสีห์ จะมีลวดลายของซุ้มที่แคบกว่า และที่ปลายพระเกศมีเปลวที่สูงกว่า

พระพุทธชินราช ใบเสมา มีเม็ดไข่ปลาคั่นเ

ที่แตกต่างกันอีกจุดหนึ่ง คือ ฐานบัว ๒ ชั้นของ พระพุทธชินราชใบเสมา มีเม็ดไข่ปลาคั่นเป็นแถว ระหว่างบัวบนกับบัวล่าง ส่วนฐานบัว ๒ ชั้นของ พระชินสีห์ ไม่มีเม็ดไข่ปลาคั่น

พระชินราชใบเสมา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก และ พระชินสีห์ แตกกรุออกมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีชาวบ้านนำพระ ๒ พิมพ์นี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งล้นเกล้าฯ ได้พระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และพสกนิกรที่ตามเสด็จอย่างทั่วหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ พระกรุนี้นับได้ว่ามีการขุดพบมานานกว่า ๑๑๒ ปี

พระพุทธชินราช ใบเสมา

พระชินสีห์ เป็นพระตระกูลเดียวกับ พระพุทธชินราช ใบเสมา เพราะว่าผู้สร้างเป็นคนเดียวกัน คือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท แต่...พระชินสีห์หาได้ยากกว่า พระพุทธชินราชใบเสมา เป็นอันมาก อาจจะเป็นเพราะสร้างจำนวนน้อยกว่าก็ได้ พระชินสีห์ มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เกศตรง ขนาดองค์ กว้างประมาณ ๒.๕ ซม. สูงประมาณ ๓.๕ ซม. และ พิมพ์เกศแฉก ซึ่งเป็นพระคนละพิมพ์ ต่างกันตรงที่ยอดพระเกศ มีลักษณะเป็นสองแฉก และขนาดองค์พระจะสูงกว่ากันเล็กน้อย คือ สูงประมาณ ๓.๗๕ ส่วนความกว้างประมาณ ๒.๕ ซม. เท่าที่พบเห็น มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อชินเงิน และ เนื้อสัมฤทธิ์

พระชินสีห์ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เป็นพระที่หาได้ยากยิ่ง ในวงการพระแทบจะนับองค์ได้ ฉะนั้น สนนราคาเช่าหาจึงสูงกว่า พระพุทธชินราช ใบเสมา แม้ว่าโดยศักดิ์ศรี พระชินสีห์ จะไม่ได้รับการบรรจุอยู่ในทำเนียบชุดเบญจภาคีพระเนื้อชินก็ตาม แต่อายุการสร้างก็เท่าๆ กัน คือหลายร้อยปีมาแล้ว

ในด้านพุทธคุณ เป็นเลื่องลือกันกันว่า ล้ำเลิศทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปลอดภัย และมหาอำนาจ มหาบารมี เรียกได้ว่าครอบจักรวาล ครบถ้วนทุกด้าน จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับชนชั้นสูง ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้นำเหล่าทัพ นายทหารนายตำรวจใหญ่ และเจ้าขุนมูลนายทั่วไป พระพุทธชินราชใบเสมาเนื้อตะกั่ว ปี15

ถ้าชาวบ้านธรรมดาๆ มีโอกาสได้ครอบครองเป็นเจ้าของ ก็ต้องถือว่า เป็นบุญวาสนาอย่างสูงยิ่ง

"ชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ"
ที่มา...http://www.komchadluek.net/






ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
25850 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี